ดร.บุญศรี แสง ศรี 



Main Menu
















นักบริหารที่ดีต้องบริหารด้วยหลักการ และทฤษฎีการบริหาร                                                                                                                                                                                                                                         

ครูนักวิจัยคือครูมืออาชีพ

โดย นายบุญศรี  แสงศรี ผอ.โรงเรียนบ้านบัวเชด

 

              ปัจจุบันโลกยุคการจัดการฐานความรู้ ( Knowledge – Based Management) เป็นยุคของการแข่งขันที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว (Speed – Based Competition)      ใช้ความได้เปรียบทรัพยากรทุนมนุษย์ (Capital Human Resources) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ( Intangible Assets ) ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( Creative ) มาใช้เป็นประโยชน์สร้างวงจรแห่งการเรียนรู้เพิ่มมูลค่าและคุณค่า ( Value ) เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน กระบวนการทางสังคมที่ใช้ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในรูปแบบความรู้โดยนัย ( Tacit Knowledge or Implicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดและแบ่งปันกันได้ ยิ่งใช้มากยิ่งมีความรู้มาก กับความรู้ที่ปรากฏ ( Explicit Knowledge ) ที่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาและบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความ เอกสาร โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสื่ออิเลกทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ที่ทำหน้าครูสอนต้องทำหน้าที่เป็น  “คุณอำนวย ” ( Facilitator ) ประสานจัดการเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน โดยการสนับสนุนของผู้บริหารและทีมงานผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ( Sustainable learning ) หมายถึง วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เมื่อเรียนรู้สิ่งใดแล้ว นำไปใช้เป็นเครื่องมือแสวงหา และพัฒนาการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต )

                     ครูผู้สอนมีหน้าที่จัดให้ผู้เรียนเข้าไปสู่แหล่งความรู้ และแนะนำวิธีเรียนรู้แบบต่างๆที่เหมาะสมและหลากหลายวิธีมากที่สุด โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะเลือกแหล่งความรู้ ตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร เช่น สอนโดยใช้สื่อการเรียนการสอน สอนโดยใช้กิจกรรมหรือใช้แบบประสม นั่นคือ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง จุดมุ่งหมายสำคัญคือให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ( คิดเป็น ) อาจใช้กิจกรรมซักถาม ( Quiz ) การอภิปราย ( Discussion ) อย่างมีเหตุผล   การแก้ปัญหาเป็น ( Problem Solving )   เช่น  การแสดงบทบาทสมมติ ( Acting / role play )      การบรรยาย ( Description )   บอกว่าจะทำอะไร  อาจไม่ต้องทำจริง   สุดท้ายผู้เรียนได้ทำจริง    ศึกษาค้นคว้า   ปฏิบัติจริง ( Performance / Authentic tasks )   โดยการทำรายงาน ( Report )  ใบงาน ( Worksheet )  และโครงงาน ( Project work ) เป็นต้น ประการสำคัญ เมื่อครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วต้องมีการวัดและประเมินผล ( Evaluation ) ตามความเหมาะสม ได้แก่ แบบทดสอบ ( Test ) ใช้สำหรับวัดผลการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมิน มี 4 แบบ คือ แบบเลือกตอบ ( Multiple choice ) แบบถูกผิด ( True-false ) แบบเติมช่องว่าง ( Fill in the blank ) และแบบจับคู่ ( Matching ) ซึ่งเรียกว่าประเภทบังคับคำตอบ ( Forced-Choice Items ) และอีกประเภทหนึ่งคือ การตอบเสรี ( Free Response ) เป็นคำถามให้หาคำตอบด้วยตนเอง หรือแบบเรียงความ ( Essay type ) และการประเมิน ( Assessment ) เป็นรูปแบบประเมินคุณค่าหรือราคาจากพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาของผู้ถูกประเมินตามที่สังเกตเห็น      ที่นิยมได้แก่ การประเมินตามสภาพจริง

( Authentic Assessment ) การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ( port Folio Assessment ) การประเมินจากนิทรรศการ ( Exhibition Assessment ) การประเมินจากการสังเกตของครู ( Teacher Observation Assessment ) หรือการเฝ้าดูเด็ก ( Kid Watching ) การประเมินตนเอง ( Self Assessment ) และการประเมินจากกลุ่มเพื่อน ( Peer Assessment )

                    หัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนคือปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน เน้นการจัดกิจกรรมผู้เรียนเป็นสำคัญ แน่นอนผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนให้สำเร็จได้คือ ครู การเรียนการสอนปัจจุบันจึงเป็นการเรียนแบบร่วมมือกันระหว่างครู ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ( Stake holders ) ทั้งหลาย ร่วมมือกันแสวงหาแนวทางให้ผู้เรียนบรรลุได้ตามเป้าหมาย ปัญหาของผู้เรียนให้ห้องเรียนเป็นหน้าที่ของครูโดยตรงที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ( Action Research ) นั่นคือ นอกจากการเป็นครูสอนสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนแล้วต้องเป็นครู “นักวิจัย” ในคนๆเดียวกัน จึงจะเป็นครูมืออาชีพได้ กล่าวคือ นอกเหนือจากงานครูในแต่ละวัน เวลาที่ครูใช้ทำงานมิได้มีเพียงแต่การทำหน้าที่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังต้องทบทวนการทำงานของตนเองเกี่ยวกับการเรียนการสอน มีผลการวัดและประเมินผลผู้เรียนอย่างไร ปัญหามีต้องแก้ไขหรือปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนหรือปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนนั่นเอง

 

http://www.buached/ school.com

 

http://www.doctorsee.tht.in/

e-mail  Sboonsri @ .Gmail.com



 

 

 สถิติวันนี้ 5 คน
 สถิติเมื่อวาน 1 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
133 คน
359 คน
25925 คน
เริ่มเมื่อ 2010-05-06


Copyright (c) 2006 by Your Name

Designed by: free templates online