ดร.บุญศรี แสง ศรี 



Main Menu
















นักบริหารที่ดีต้องบริหารด้วยหลักการ และทฤษฎีการบริหาร                                                                                                                                                                                                                                         

นวัตกรรม (  Innovation )

 

                                                                                                โดย...นายบุญศรี  แสงศรี 

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวเชด

 

นวัตกรรม หมายถึง รูปแบบใหม่ๆ ของสื่อ กิจกรรมหรือเทคนิควิธี จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ

            1.จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่

ประเภทสื่อสำหรับครู
 ประเภทสื่อสำหรับนักเรียน
 
-            แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู

-            เอกสารประกอบการสอน

-            ชุดการสอน ( สื่อประสม )

-            หนังสืออ้างอิง เครื่องมือวัดผล

-            อุปกรณ์ โสตทัศนวัสดุ
 -            บทเรียนสำเร็จรูป

-            เอกสารประกอบการสอน

-            ชุดฝึกปฏิบัติในงานแบบฝึก

-            หนังสือเสริมประสบการณ์

-            ชุดเพลง เกม การ์ตูนเรื่อง
 

            2. จำแนกตามลักษณะได้ 2 ประเภท ได้แก่

                 2.1 ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษารายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีสอนอุปนัยและนิรนัย ฯลฯ

                 2.2 ประเภทสื่อการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนโมดูล วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ในงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

            ในการจะเลือกนวัตกรรมใดมาใช้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ครูผู้สอนมีหลักในการพิจารณา ดังนี้

            1. หลักจิตวิทยาเรียนรู้ สอดคล้องธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัยและความสนใจผู้เรียน

            2. ทฤษฎีและหลักการสอน เพื่อนำมากำหนดเทคนิควิธีหรือกิจกรรม หรือสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องธรรมชาติวิชา

            3. ชนิดและประเภทของนวัตกรรม เพื่อให้สามารถเลือกมาใช้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข

            การสร้างนวัตกรรมที่ดีจะต้องมีการออกแบบหรือกำหนดโครงสร้างของนวัตกรรม ทั้งลักษณะทางเทคนิคและองค์ประกอบสำคัญ โดยจะต้องกำหนดจุดประสงค์ แนวคิดและสาระสำคัญที่เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา อีกทั้งจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมก่อนที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมจึงจะสมบูรณ์และได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการทั่วไป

            โครงสร้างสำคัญๆ ของนวัตกรรม มีอะไรบ้าง

            1. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม เป็นการระบุเฉพาะผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นโดยตรงจากนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเท่านั้น และต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มุ่งแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องของนักเรียนในเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง เป็นรูปธรรม สามารถวัดได้

            2. ลักษณะหรือส่วนประกอบของนวัตกรรม นำเสนอนวัตกรรมบางชนิด ดังนี้

                2.1 คู่มือ

                        การเขียนคู่มือ มีแนวการเขียนได้หลายแบบ สิ่งสำคัญคือต้องเขียนให้ผู้อ่านศึกษาแล้วสามารถปฏิบัติได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้ดี มีสาระสำคัญ ดังนี้

1)       วัตถุประสงค์ของคู่มือ

2)       หลักการ แนวคิด ที่นำมาใช้

3)       กระบวนการปฏิบัติ / ขั้นตอน / กิจกรรม

4)       แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติในข้อ 3

     2.2 เอกสารประกอบการสอน มีสาระสำคัญ ดังนี้

            1) คำนำ

            2) วัตถุประสงค์

            3) จำนวนบท / ตอน / หน่วย ในแต่ละบท / ตอน / หน่วย  จะกล่าวถึง

                        - จำนวนคาบ

                        - จุดประสงค์การเรียนรู้

                        - สาระการเรียนรู้

                        - กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้

                        - แบบฝึกหัด

                 2.3 เอกสารประกอบการเรียน มีสาระสำคัญ ดังนี้

                        1) คำนำ

                        2) หน่วยการเรียนรู้ โดยในแต่ละหน่วยจะกล่าวถึง

                                    - จุดประสงค์การเรียนรู้

                                    - สาระการเรียนรู้

                                    - กิจกรรมสำหรับฝึกปฏิบัติ

                                    - สรุปท้ายหน่วย

                                    - แบบฝึกหัด

                 2.4 บทเรียนสำเร็จรูป มีสาระสำคัญ ดังนี้

                        1) ทบทวนนิยามศัพท์

                        2) จุดประสงค์

                        3) สถานการณ์ / สาระการเรียนรู้ และมีคำถามให้ตอบประกอบในแต่ละสถานการณ์ / สาระ

                        4) บทสรุป

                        5) แบบทดสอบท้ายบท

                 2.5 ชุดการสอน มีสาระสำคัญ ดังนี้ ( ส่วนมากจะใช้สื่อประสมหลายอย่าง ) เช่น

                        1) คู่มือครู

                        2) บทเรียนโมดูลหลายๆ โมดูล

                        3) แบบฝึก

                        4) แบบทดสอบ

                 2.6 ชุดแบบฝึก เป็นสื่อใช้ฝึกทักษะการคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติของนักเรียน มีสาระสำคัญ ดังนี้

                        1) จุดประสงค์

                        2) ทบทวนกฎเกณฑ์

                        3) เสนอตัวอย่าง

                        4) แบบฝึก

                        5) เฉลยหรืออธิบายเพิ่มเติม

            เมื่อครูผู้สอนสร้างนวัตกรรมได้แล้ว มีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ ก็นำไปหาคุณภาพของนวัตกรรม โดยมีวิธีการดังนี้

            1. การตรวจสอบหาค่าความสอดคล้อง จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3-5 คน เกี่ยวกับเนื้อหา รูปแบบ มีความถูกต้อง เที่ยงตรงและครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่กำหนด ก่อนนำไปทดลองใช้ มักจะใช้ค่า IOC ในการพิจารณาคุณภาพนวัตกรรม มีสูตร ดังนี้

            2. การทดลองและพัฒนา เป็นการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมที่ใช้กันทั่วไป และเชื่อถือว่า มีมาตรฐาน จะมี 3 ขั้นตอน คือ

                2.1 การทดลองแบบ 1 : 1 เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกันนักเรียน 3 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน คือ เก่ง ปานกลางและอ่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตพฤติกรรมการใช้งานและความสอดคล้องเหมาะสมในด้านต่างๆ อย่างละเอียดจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมของนักเรียนและนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่พบให้สมบูรณ์

                2.2 การทดลองกลุ่มเล็ก เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้กับนักเรียนตั้งแต่ 5-10 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของนวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น แล้วนำผลมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆอีกครั้งให้สมบูรณ์

                2.3 การทดลองกลุ่มใหญ่ เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม มีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

            2.3.1 ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับว่านวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือ ด้านความรู้ ความจำ E1 / E2 จะต้องมีค่า 80 / 80 ขึ้นไป ส่วนในด้านทักษะปฏิบัติ E1 / E2 จะต้องมีค่า 70 / 70 ขึ้นไป โดยที่ค่า E1 / E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่า ร้อยละ 5

                        2.3.2 การหาค่าดัชนีประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยการวิเคราะห์จากคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำได้กับคะแนนเต็มทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเกณฑ์การยอมรับว่านวัตกรรมมีประสิทธิผล ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง จะต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

                        ค่าดัชนีประสิทธิผล =

            เมื่อได้นวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบแล้ว ครูผู้สอนก็นำไปวางแผนการใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ( ใช้กับนักเรียนชั้นไหน ปีการศึกษาใด จำนวนเท่าไร ) ระยะเวลาการใช้นวัตกรรม เช่น 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา และการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการทำงานในระหว่างทดลองและการทดสอบการปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ เมื่อสิ้นสุดการทดลองแต่ละครั้ง

            ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องพิจารณาเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการจะเก็บ อาจจะแบ่งประเภทได้ ดังนี้

            1. ข้อมูลประเภทความรู้ ความเข้าใจ เก็บรวบรวมได้ด้วยการทดสอบ การตรวจวิเคราะห์ผลงาน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรอง การสังเกตการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นได้ทั้งแบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบสังเกต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูว่า ทำอย่างไรจะได้ข้อมูลที่เป็นความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง

            2. ข้อมูลประเภทเจตคติ หรือความรู้สึกนึกคิด ที่เป็นคุณธรรม จริยธรรมหรือค่านิยมต่างๆ หรือความคิดเห็น เก็บรวบรวมด้วยการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติ / พฤติกรรมการกระทำ / การแสดงออกต่อสิ่งต่างๆ การสำรวจการปฏิบัติ รวมทั้งการตรวจวิเคราะห์ผลงานที่ทำในบางกรณี เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือบุคคลที่ไปเก็บว่าทำอย่างไรจะได้ข้อมูลดังกล่าวอย่างแท้จริง

            3. ข้อมูลประเภทพฤติกรรมที่เป็นการแสดงออกหรือการกระทำต่างๆ หรือทักษะการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ของบุคคล เก็บรวบรวมได้ด้วยการสังเกต โดยใช้แบบสังเกต บันทึกพฤติกรรมนักเรียนตามสภาพจริง โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไปในการบันทึกพฤติกรรมต่างๆ

            4. ข้อมูลประเภทข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงสภาพของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่และปรากฏจริง เช่น สภาพสถานที่ สภาพที่แสดงการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ  รายละเอียดของเอกสารหลักสูตร รายละเอียดในแผนการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ เครื่องมือที่ใช้เก็บจะเป็นแบบสำรวจรายการหรือแบบบันทึกต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเหล่านั้น มักจะใช้วิธีการสังเกต การศึกษาวิเคราะห์ให้ได้ข้อมูลตามรายการต่างๆ ที่ต้องการเชิงประจักษ์

            ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะให้เป็นที่ยอมรับ ส่วนหนึ่งจะขึ้นกับเครื่องมือ ซึ่งมีความสำคัญมาก จะต้องมีการหาคุณภาพด้วยวิธีการต่างๆ และนำหลักการทางสถิติเข้ามายืนยันความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ซึ่งควรมีการหาคุณภาพของเครื่องมือ ดังนี้

            1. ความตรงของเครื่องมือ หมายถึง สามารถวัดได้ตรงและครบถ้วนในสิ่งที่ต้องการวัด กล่าวคือ ในวัตถุประสงค์ต้องการทราบเรื่องอะไร เครื่องมือนั้นต้องเก็บผลได้ตรงกับเรื่องนั้นจริงๆ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3-5 คน ตรวจสอบให้ได้

            2. ความเที่ยงของเครื่องมือ หมายถึง มีความคงเส้นคงวา กล่าวคือ ถ้าใช้เครื่องมือนั้นวัดคุณลักษณะคนๆหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซ้ำกันหลายๆครั้ง ผลการวัดควรจะเท่ากันหรือเป็นเช่นเดิม การหาคุณภาพจะใช้วิธีการนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง แล้วนำผลมาหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีการทางสถิติ ว่ายังได้ผลเช่นเดิมหรือไม่ หากผลเป็นเช่นเดิม แสดงว่า เครื่องมือนั้นมีความเที่ยง

 

 

 

 

 

 

 

xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /> แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม วิธีการและเครื่องมือในการวัดคุณลักษณะของนักเรียน
 
พฤติกรรมที่ต้องการวัด
 
วิธีการวัด
 
เครื่องมือที่ใช้
 
ความรู้
 
การทดสอบ

การสัมภาษณ์
 
แบบทดสอบชนิดต่างๆ

แบบสัมภาษณ์
 
ทักษะ
 
การสังเกต

การตรวจผลงาน
 
แบบสังเกต

แบบสำรวจ

แบบบันทึก
 
เจตคติ
 
พฤติกรรมที่ต้องการวัด

การสอบถาม

การสังเกต
 
แบบสัมภาษณ์

แบบสอบถาม

แบบสังเกต

แบบบันทึก
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            เมื่อเพื่อนครูพอรู้ เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมบ้างแล้ว ก่อนจะได้รายงานนวัตกรรม ท่านจะต้องประเมินผลการใช้นวัตกรรมอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กันตลอดแนวอย่างเป็นเอกภาพ โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม ซึ่งจะบอกผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรม เชื่อมโยงไปสู่วิธีการ เครื่องมือ วิธีวิเคราะห์ ( สถิติที่ใช้ ) และวิธีการนำเสนอ จึงจะนำไปสู่การเขียนรายงานที่มีความตรง ความชัดเจน ความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามความเป็นจริงในหลักวิชาการ เพียงเท่านี้ท่านก็จะเห็นทางเดินไปสู่ความสำเร็จในการขอกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะต่างๆ หรือพัฒนาวิชาชีพครูได้ครับ

 

                                                                                                            ( นายบุญศรี  แสงศรี )

                                                                                                    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวเชด

                                                                                                               9 มิถุนายน 2550

http://www.doctorsee.tht.in/

 

http://www.buached/ school.com

 

e-mail  Sboosri @ gmail.com
 
 


 



 

 

 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 1 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
132 คน
358 คน
25924 คน
เริ่มเมื่อ 2010-05-06


Copyright (c) 2006 by Your Name

Designed by: free templates online