ดร.บุญศรี แสง ศรี 



Main Menu
















นักบริหารที่ดีต้องบริหารด้วยหลักการ และทฤษฎีการบริหาร                                                                                                                                                                                                                                         

ครูกับการพัฒนาวิชาชีพด้วยทฤษฎี “ ขวยกะปู ”

โดย นายบุญศรี  แสงศรี  ผอ.โรงเรียนบ้านบัวเชด จ.สุรินทร์

 

               เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ผู้บริหารหรือครูในสถานศึกษาคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนภารกิจของสถานศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ในความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกทั้งด้านสังคม / เศรษฐกิจ / การเมือง / การศึกษา หรือแม้แต่ศิลปวัฒนธรรม การแพร่กระจายองค์ความรู้ในลักษณะต่างๆโดยสื่อ เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่า “ ครู ” ต้องพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการพัฒนาองค์การและประเทศชาติ

               กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ( สพฐ. ) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของสถานศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ มีความพยายามที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาวิชาชีพตนเองให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยเฉพาะการขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็นครูหรือผู้บริหารชำนาญการพิเศษหรือตำแหน่งเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษก็ตาม ที่ผ่านมาครูส่วนใหญ่ที่มีความตั้งใจจริง สอนมานานนับสิบปี มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับในแวดวงครูด้วยกัน รวมทั้งสายงานบริหารก็เช่นกัน ได้มีความพยายามขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นทั้งแบบเก่าและแบบเชิงประจักษ์ ด้วยความทุ่มเท ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการอย่างน้อย 2 ชุด ผมมีโอกาสเป็นคณะกรรมการชุดที่ 2 เชิงประจักษ์ ครูบางท่านนอกจากจะทุ่มเทสร้างสื่อการเรียนการสอนมาหลายปี ทุ่มเทจัดบริบทห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ทุนส่วนตัวเป็นเงินหลักแสนบาท โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหรือสถานศึกษาเท่าที่ควร เมื่อมีโอกาส คนเหล่านั้นก็พยายามที่จะเขียนรายงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่ส่งขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง ตกทุกครั้ง เท่านี้ครูก็ท้อแล้ว อีกประเด็นหนึ่ง การพัฒนาครูด้วยการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการเดียวกัน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอาจารย์ที่ศึกษาในระดับนี้จะได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบัน ปริญญาโท 300,000 บาท ปริญญาเอก 500,000 บาท ครั้งย้อนมามองพวกเราในสังกัด สพฐ. ก็พัฒนาในหลักสูตรเดียวกัน แต่ขวนขวายหาทุนเรียนเอง ( น่าน้อยใจนะ )


               ในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินครั้งละหลายหมื่นบาท ลำพังรายได้ไม่พอเจือจุนครอบครัว เพราะส่วนใหญ่เป็นหนี้ทั้งในระบบ โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และนอกระบบ อาจเรียกได้ว่า เอาเงินอนาคตมาใช้แล้วมานั่งซ่อมปัจจุบัน การพัฒนาตนเองของครู ถึงแม้ ก.ค.ศ. จะเขียนกรอบแนวปฏิบัติไม่เน้นเอกสาร แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น ครูส่วนใหญ่คุณวุฒิปริญญาตรี สอนมา 10 ปีขึ้นไป ไม่ผ่านกระบวนการวิจัยหรือกระบวนการเขียนรายงานจนตกผลึกจากสถาบัน ต้องยอมรับว่าเพื่อนครูเราทำเป็นแต่เขียนไม่เป็น แม้แต่มหาบัณฑิตก็เช่นกัน จึงวอนฝากเพื่อนครูทุกท่าน การพัฒนาวิชาชีพพวกเราเป็นหน้าที่ครู ต้องทุ่มเทพัฒนาต่อไป ถึงแม้ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองควบคู่กับหนี้สินอย่างเป็นตรรกะ เสมือนปู ยิ่งขุดรูลึก มูลดินยิ่งพอกพูนโดยรอบรูปูสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นแหละการพัฒนาวิชาชีพด้วยทฤษฎี “ขวยกะปู” โดยแท้       



 

 

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 2 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
60 คน
431 คน
25997 คน
เริ่มเมื่อ 2010-05-06


Copyright (c) 2006 by Your Name

Designed by: free templates online