ดร.บุญศรี แสง ศรี 



Main Menu
















นักบริหารที่ดีต้องบริหารด้วยหลักการ และทฤษฎีการบริหาร                                                                                                                                                                                                                                         

ตัวอย่างการเขียน เค้าโครงงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
โดย นายบุญศรี  แสงศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวเชด 11 กุมภาพันธ์ 2554

การวิจัยเรื่อง        การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ สำหรับการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


4.    ขอบเขตการวิจัย
4.1    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การศึกษา 2553-2554 จำนวน 60 คน
4.2    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน ประกอบด้วย
4.2.1    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 32 คน
4.2.2    นักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 28 คน
4.3    เป็นการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553-2554
5.    ข้อตกลงเบื้องต้น
                   นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความรู้สติปัญญา ตามกลุ่มระดับสติปัญญาเดียวกัน     ตามเกณฑ์ การคัดเลือกโดยกลุ่มงานวิชาการโรงเรียนบ้านบัวเชด ปีการศึกษา 2553-2554 จำแนกได้ดังนี้
                   1)    กลุ่มอ่านคล่องเขียนคล่อง ได้แก่ นักเรียนที่อ่านคล่องเขียนคล่อง ร้อยละ 80 ขึ้นไป
                   2)    กลุ่มอ่านออก เขียนได้ ได้แก่ นักเรียนอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่คล่อง
                   3)    กลุ่มอ่านออก – เขียนไม่ได้ ได้แก่ นักเรียนที่อ่านออกบ้างแต่เขียนไม่ได้
                   4)    กลุ่มอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ได้แก่ นักเรียนที่อ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้
6.    นิยามศัพท์เฉพาะ
                   นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบัวเชด สพป.สุรินทร์ 3
                   นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ หมายถึง ชุดฝึกอ่าน และเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบัวเชด มีองค์ประกอบดังนี้
                   1)    สาระการเรียนรู้ประจำหน่วย (ภาคเรียนที่ 1)
                   2)    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                   3)    จุดประสงค์การเรียนรู้
                   4)    แนวคิดสำคัญ ขอบข่าย เนื้อหา หลักการภายในหน่วย
                   5)    กิจกรรมฝึกทักษะการอ่าน – เขียน
                   6)   แบบทดสอบประจำหน่วย
ฯลฯ
7.    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1    ได้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง
7.2    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากปีการศึกษา 2553
7.3 นักเรียนมีความพึงพอใจ ในการใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการ                 อ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้
7.4    ประโยชน์ต่อครูผู้สอนภาษาไทย สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพต่อไป
บทที่ 2       วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
                   การวิจัยการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอสาระแบ่งเป็น 8 ตอน ดังนี้
                   ตอนที่ 1 นวัตกรรมการศึกษา (ค้นคว้ารายละเอียดของนวัตกรรมตั้งแต่ความหมาย ฯลฯ )
                   ตอนที่ 2 แนวคิดและความสำคัญของการอ่าน – เขียน
                   ตอนที่ 3 แนวคิดสื่อการเรียนการสอน
                   ตอนที่ 4 แนวคิดการประเมินจากสภาพจริง
                   ตอนที่ 5 แนวคิดความพึงพอใจ
                   ตอนที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                   ตอนที่ 7 แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
                   ตอนที่ 8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3       วิธีดำเนินการวิจัย
1.    การดำเนินการศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้กรอบแนวความคิดการวิจัย
2.    ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
2.1    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.2    การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ในส่วนที่โรงเรียนวางแผนดำเนินการ
3.    เครื่องมือที่ใช้
3.1    แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ศึกษาวิธีสร้าง/ขั้นตอนการสร้าง เช่นเกณฑ์ของ Klofler , 1978 ) ได้แก่ ความรู้ความจำ/ความเข้าใจ/ทักษะกระบวนการ/การนำไปใช้
3.2    การหาคุณภาพเครื่องมือ
- ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน หาค่า IOC
- นำไป Try out กับนักเรียนคนอื่น 10 คน หาความยากง่าย ความเหมาะสม
- นำไป Try out กับนักเรียนอีก 30 คน วิเคราะห์หาความยากง่าย และหาค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.80 (เอา 0.20 ขึ้นไป)
- หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ใช้ KR20
3.3    แบบทดสอบความพึงพอใจ นำไปใช้หาค่าเฉลี่ย (X) แปลความหมายตามมาตรวัด 5 ระดับ ของ Likert
5.    การเก็บรวบรวมข้อมูล (อธิบายการเก็บรวบรวมข้อมูลตามความเป็นจริง/ปฏิบัติจริง)
6.    การวิเคราะห์ข้อมูล (ผู้วิจัยเขียนบรรยายหรืออาจเขียนเป็นตารางก็ได้) ได้แก่
6.1    การหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าร้อยละ
6.2    การเปรียบเทียบก่อน – หลัง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ด้วยสถิติ t –test
6.3    วิเคราะห์ความพึงพอใจของครูและนักเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
7.    สถิติที่ใช้
1.    ค่าเฉลี่ย (X) สูตร (ให้ข้อมูลการหาพร้อมระบุที่มาด้วย)
2.    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) หรือ S.D
3.    ค่าความเชื่อมั่นใช้ Kuder Richardson (KR20)
4.    ค่าอำนาจจำแนก
5.    ค่า IOC
6.    ประสิทธิภาพเครื่องมือ E1/E2
 
 
 
     บรรณานุกรม (ให้เขียนบรรณานุกรมที่อ้างทั้งหมด ที่อ้างถึงในบทที่ 1- 3)
 
หมายเหตุ  พิมพ์แจกครูและบุคลากรทุกคน ให้ไปเขียนเค้าโครงงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน              ส่งปีการศึกษาหน้า(2554)

 



 

 

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 3 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
44 คน
415 คน
25981 คน
เริ่มเมื่อ 2010-05-06


Copyright (c) 2006 by Your Name

Designed by: free templates online