ดร.บุญศรี แสง ศรี 



Main Menu
















นักบริหารที่ดีต้องบริหารด้วยหลักการ และทฤษฎีการบริหาร                                                                                                                                                                                                                                         

ตัวอย่างการเขียน เค้าโครงงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
โดย นายบุญศรี  แสงศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวเชด 11 กุมภาพันธ์ 2554

การวิจัยเรื่อง        การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ สำหรับการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


บทที่ 1 บทนำ

1.    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ( 3 – 5 หน้า ) สาระที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

          1.1    ความเป็นมาของการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.กศ.ชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)         พ.ศ. 2545 (ในส่วนที่เกี่ยวข้องแนวการจัดการศึกษา)

          1.2    สภาพปัจจุบันปัญหาการอ่านออก – เขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับประเทศ/ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

1.3    นโยบายจุดเน้นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ของกระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./เขตพื้นที่

1.4    สภาพปัจจุบันปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวเชด( เน้น ป.3)

 

2.    จุดประสงค์การวิจัยxml:namespace prefix = o />

2.1    เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

2.2    เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ สำหรับแก้ปัญหา การอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

2.3    เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้สูงขึ้น

2.4    เพื่อสำรวจความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้นวัตกรรม      สื่อการเรียนรู้สำหรับการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

3.    สมมติฐานการวิจัย

3.1    นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบัวเชด มีประสิทธิภาพ 80/80

3.2    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านบัวเชด โดยใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3    ความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

 

>>>>>Nex



 

 

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 4 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
68 คน
439 คน
26005 คน
เริ่มเมื่อ 2010-05-06


Copyright (c) 2006 by Your Name

Designed by: free templates online